วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ความหมายพืชสมุนไพรในความคิดของกระผม

ในคำว่าพืชสมุนไพรของงกระผม กระผมคิดว่า คำว่า สมุนไพร   คือ เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ฯลฯ ซึ่งยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใด ๆ แต่ในทางการค้าสมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปต่าง ๆ เข่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่ง อย่างไรก็ตามในความรู้สึกของคนทั่ว ๆ ไป เมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักจะนึกถึงเฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าสัตว์ หรือแร่ มีการนำมาใช้น้อย และใช้ในโรคบางชนิดเท่านั้น
พืชสมุนไพร หมายถึงพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ปรุงหรือประกอบเป็นยารักษา โรคต่าง ๆ ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพร่างกายได้
ความสำคัญของพืชสมุนไพร
1. ความสำคัญในด้านสาธารณสุข
พืชสมุนไพร เป็นผลผลิตจากธรรมชาติ ที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้เป็นประโยชน์ เพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่โบราณกาลแล้ว เช่นในเอเชียก็มีหลักฐานแสดงว่ามนุษย์รู้จักใช้พืชสมุนไพรมากว่า 6,000 ปี แต่หลังจากที่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีการสังเคราะห์ และผลิตยาจากสารเคมี ในรูปที่ใช้ประโยชน์ได้ง่าย สะดวกสบายในการใช้มากกว่าสมุนไพร ทำให้ความนิยมใช้ยาสมุนไพรลดลงมาเป็นอันมาก เป็นเหตุให้ความรู้วิทยาการด้านสมุนไพรขาดการพัฒนา ไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร ในปัจจุบันทั่วโลกได้ยอมรับแล้วว่าผลที่ได้จากการสกัดสมุนไพร ให้คุณประโยชน์ดีกว่ายา ที่ได้จากการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ประกอบกับในประเทศไทยเป็นแหล่ง ทรัพยากรธรรมชาติ อันอุดมสมบูรณ์ มีพืชต่าง ๆ ที่ใช้เป็นสมุนไพรได้อย่างมากมายนับหมื่นชนิด ยังขาดก็แต่เพียงการค้นคว้าวิจัยในทางที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นเท่านั้น ความตื่นตัวที่จะพัฒนาความรู้ด้านพืชสมุนไพร จึงเริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง มีการเริ่มต้นนโยบายสาธารณสุขขั้นมูลฐานอย่างเป็นทางการของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2522 โดยเพิ่มโครงการสาธารณสุขขั้นมูลฐานเข้าในแผนพัฒนาการสาธารณสุข ตามแผนพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ต่อเนื่องจนถึงแผนพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) โดยมี กลวิธีการพัฒนาสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยในงานสาธารณสุขมูลฐาน คือ
(1) สนับสนุนและพัฒนาวิชาการและเทคโนโลยีพื้นบ้านอันได้แก่ การแพทย์แผนไทย เภสัช กรรมแผนไทย การนวดไทย สมุนไพร และเทคโนโลยีพื้นบ้าน เพื่อใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา สุขภาพของชุมชน
(2) สนับสนุนและส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง โดยใช้ สมุนไพร การแพทย์พื้นบ้าน การนวดไทย ในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ให้เป็นไปอย่างถูกต้องเป็นระบบสามารถปรับประสานการดูแลสุขภาพแผนปัจจุบันได้ อาจกล่าวได้ว่าสมุนไพรสำหรับสาธารณสุขมูลฐานคือสมุนไพรที่ใช้ในการส่งเสริม สุขภาพ และการรักษาโรค/อาการเจ็บป่วยเบื้องต้น เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น

พืชสมุนไพร

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน
ว่านมหากาฬ
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Gynura pseudochina  (L.) DC.
วงศ์ Asteraceae  (Compositae)
  ชื่ออื่น :  ดาวเรือง (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก มีรากขนาดใหญ่ ลำต้นอวบน้ำ ทอดเลื้อยยาว ชูยอดตั้งขึ้น ใบ เดี่ยว ขอบใบหยัก หลังใบสีม่วงเข้ม ท้องใบสีเขียวแกมเทา ดอก ช่อ ออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกสีเหลืองทอง ผล เป็นผลแห้ง ไม่แตก
ส่วนที่ใช้ หัว ใบสด
สรรพคุณ :
  • หัว 
    -  รับประทานแก้พิษอักเสบ ดับพิษกาฬ พิษร้อน
    -  แก้ไข้พิษเซื่องซึม แก้เริม 
  • ใบสด
    -  ขับระดู
    -  ตำพอกฝี หรือหัวละมะลอก งูสวัด เริม ทำให้เย็น ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน 
วิธีและปริมาณที่ใช้
         
ใช้ใบสด 5-6 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด ตำในภาชนะทีสะอาด ใส่พิมเสนเล็กน้อย
          ใช้ใบสด 5-6 ใบ โขลกผสมกับสุรา ใช้น้ำทา และพอกบริเวณที่เป็นด้วยก็ได้
ข้อสังเกต - ในการใช้ว่านมหากาฬรักษาเริม และงูสวัด เมื่อหายแล้ว มีการกลับเป็นใหม่น้อยกว่าเมื่อใช้เหล้าขาว

พืชสมุนไพร

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน
เหงือกปลาหมอ
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Acanthus ebracteatus  Vahl
ชื่อพ้อง : Acanthus ilicifolius  L.
ชื่อสามัญ  Sea holly
วงศ์  ACANTHACEAE
ชื่ออื่น :  แก้มหมอ แก้มหมอเล จะเกร็ง นางเกร็ง อีเกร็ง เหงือกปลาหมอน้ำเงิน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 1-2 เมตร ลำต้นและใบมีหนาม ใบหนามแข็งมีขอบเว้าและมีหนามแหลม ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ดอกออกเป็นช่อตามยอด กลีบดอกสีขาวอมม่วง มี 4 กลีบแยกจากกัน ผลเป็นฝักสีน้ำตาล มี 4 เมล็ด ชอบขึ้นตามชายน้ำ ริมฝั่งคลองบริเวณปากแม่น้ำ
ส่วนที่ใช้ ต้น และใบ ทั้งสดและแห้ง  ราก เมล็ด
สรรพคุณ :
  • ต้นทั้งสดและแห้ง - แก้แผลพุพอง น้ำเหลืองเสีย เป็นฝีบ่อยๆ
  • ใบ - เป็นยาประคบแก้ไขข้ออักเสบ แก้ปวดต่าง ๆ รักษาโรคผิวหนัง ขับน้ำเหลืองเสีย
  • ราก 
    -  ขับเสมหะ บำรุงประสาท แก้ไอ แก้หืด
    -  รักษามุตกิดระดูขาว
  • เมล็ด 
    - ปิดพอกฝี
    - ต้มดื่มแก้ไอ ขับพยาธิ ขับน้ำเหลืองเสีย
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ต้นและใบสด 3-4 กำมือ ล้างให้สะอาด นำมาสับ ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน ใช้ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง

พืชสมุนไพร

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน
ทองพันชั่ง
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Rhinacanthus nasutus  (L.) Kurz
ชื่อสามัญ  White crane flower
วงศ์   ACANTHACEAE
ชื่ออื่น :  ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบ เดี่ยว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีประสีม่วงแดง ผล แก้ง แตกได้
ส่วนที่ใช้ :  ใบสด รากสด หรือตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้
สรรพคุณ : ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ผื่นคันเรื้อรัง
วิธีและปริมาณที่ใช้
:  
  1. ช้ใบสด หรือราก ตำแช่เหล้า หรือแอลกอฮอล์ ทาบ่อย  
  2. ใช้ใบสด ตำให้ละเอียด ผสมน้ำมันก๊าด ทาบริเวณที่เป็นกลาก วันละ 1 ครั้ง เพียง 3 วัน โรคกลากหายขาด
  3. ใช้รากทองพันชั่ง 6-7 รากและหัวไม้ขีดไฟครึ่งกล่อง นำมาตำเข้ากันให้ละเอียด ผสมน้ำมันใส่ผมหรือวาสลิน (กันไม่ให้ยาแห้ง) ทาบริเวณที่เป็นกลาก หรือโรคผิวหนังบ่อยๆ 
  4. ใช้รากของทองพันชั่ง บดละเอียดผสมน้ำมะขามและน้ำมะนาว ชโลมทาบริเวณที่เป็น

พืชสมุนไพร

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน
กุ่มบก
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Crateva adansonii  DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs
ชื่อสามัญ Sacred Barnar, Caper Tree
วงศ์ Capparaceae
ชื่ออื่น : ผักกุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 6-10 ม. ใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบประกอบยาว 7-9 ซม. ใบย่อยรูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 7.5-11 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนแหลมหรือสอบแคบ ขอบเรียบ ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างโคนใบเบี้ยว แผ่นใบค่อนข้างหนา เส้นแขนงใบข้างละ 4-5 เส้น ก้านใบย่อยยาว 4-5 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามง่ามใบใกล้ปลายยอด ก้านดอกยาว 3-7 ซม. กลีบเลี้ยงรูปรี กว้าง 2-3 มม. ยาว 4-5 มม. เมื่อแห้งมักเป็นสีส้ม กลีบดอกสีขาวอมเขียวแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือชมพูอ่อน รูปรี กว้าง 0.8-1.5 ซม. ยาว 1.2-1.8 ซม. โคนกลีบเป็นเส้นคล้ายก้าน ยาว 3-7 มม. เกสรเพศผู้สีม่วง มี 15-22 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 4 ซม. ก้านชูเกสรเพศเมียยาวประมาณ 5 ซม. รังไข่ค่อนข้างกลมหรือรี มี 1 ช่อง ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3.5 ซม. เปลือกมีจุดแต้มสีน้ำตาลอมแดง เมื่อแก่เปลือกเรียบ ก้านผลกว้าง 2-4 มม. ยาว 5-13 ซม. เมล็ดรูปคล้ายเกือกม้าหรือรูปไต กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 6 มม. ผิวเรียบ
สรรพคุณ :
  • บ  -  ขับลม ฆ่าแม่พยาธิ เช่น พวกตะมอย และทาแก้เกลื้อนกลาก
  • เปลือก  - ร้อน ขับลม แก้นิ่ง แก้ปวดท้อง ลงท้อง คุมธาตุ
  • กระพี้ - ทำให้ขี้หูแห้งออกมา
  • แก่น - แก้ริดสีดวง ผอม เหลือง
  • ราก - แก้มานกษัย อันเกิดแต่กองลม
  • เปลือก - ใช้ทาภายนอก แก้โรคผิวหนัง

พืชสมุนไพร

กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด
กระเจี๊ยบแดง
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Hibiscus sabdariffa  L.
ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle
วงศ์ Malvaceae
ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ  กระเจี๊ยบเปรี้ย  ผักเก็งเค็ง  ส้มเก็งเค็ง  ส้มตะเลงเครง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้
สรรพคุณ :
  • กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
  1. เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย
  2. ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด
  3. น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง
  4. ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี
  5. น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง
  6. ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ
  7. เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ
  8. เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย
  • ใบ  แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก
  • ดอก  แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก
  • ผล  ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ
  • เมล็ด  บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด

พืชสมุนไพร

กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด
คำฝอย


ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Carthamus tinctorius  L.
ชื่อสามัญ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle
วงศ์ Compositae
ชื่ออื่น : คำ  คำฝอย ดอกคำ (เหนือ)  คำยอง (ลำปาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 40-130 ซม. ลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 1-5 ซม. ยาว 3-12 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ดกช่อ ออกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่อบานใหม่ๆ กลีบดอกสีเหลืองแล้วจึงเปลี่ยนเป็นสีแดง ใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม สีขาว ขนาดเล็ก

ดอกไม้สีขาว


ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Hibiscus sabdariffa  L.
ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle
วงศ์ Malvaceae
ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ  กระเจี๊ยบเปรี้ย  ผักเก็งเค็ง  ส้มเก็งเค็ง  ส้มตะเลงเครง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เล็บมือนาง

เล็บมือนาง

เล็บมือนาง เป็นไม้เถาที่ให้ดอกสวยงามและมีกลิ่นหอม นิยมปลูกประดับเป็นซุ้มหน้าบ้าน หรือ ปลูกเป็นรั้วบ้าน เล็บมือนางมีดอกเป็นช่อ เมื่อเริ่มบานจะมีสีขาวหรือสีชมพูอ่อน เมื่อบานเต็มที่จะมีสีชมพูเข้ม ยาว 10-20 เซนติเมตร ออกดอกตามปลายกิ่ง ก้านดอกยาว โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปทรงกระบอกยาว ปลายแหลม มี 5 กลีบ ดอกจะทยอยบาน เมื่อบานใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีแดง มีกลิ่นหอมรุนแรงตั้งแต่พลบค่ำจนถึงเช้า ดอกบานอยู่ได้ประมาณ 3-4 วัน ออกดอกได้ตลอดทั้งปีหากดินมีความชื้นสูง เล็บมือนางสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการปักชำ หรือ ตอนกิ่ง ชอบอยู่ในสภาพดินที่มีความชื้นสูง และชอบแดดจัด พบว่าหากปลูกในที่ร่มจะไม่ค่อยออกดอกเท่าที่ควร

กระดังงาไทย

กระดังงาไทย
กระดังงาไทยเป็นไม้ยืนต้น เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดความสูงประมาณ 8-15 เมตร ออกดอกตลอดทั้งปี ออกดอกเป็นช่อ ๆ ช่อละ 3-6 ดอก กลีบดอกอ่อนนุ่น เรียวยาวและบิด มี 6 กลีบ ดอกอ่อนสีเขียว เมื่อบานจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมรุนแรง ขยายพันธุ์ได้ทั้งการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง ส่วนใหญ่นิยมขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เพราะเมล็ดหาง่าย และเพาะให้งอกได้อย่างรวดเร็ว กระดังงาไทยชอบอยู่กลางแจ้งในสภาพดินที่มีความชุ่มชื้นสูง สำหรับผู้ที่ต้องการจะปลูก จำเป็นจะต้องมีพื้นที่หน้าบ้านพอสมควร เพราะกระดังงาไทยเป็นไม้เป็นไม้ยืนต้นขนาดค่อนข้างใหญ่

ดอกกุหลาบ

                                    

กุหลาบนั้นมีชื่อสามัญว่า "Rose" ชื่อทางพฤกษาศาสตร์ว่า "Rosa hybrids" และมีชื่อวงศ์ว่า "Rosaceae" ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง ลักษณะของกุหลาบนั้นมีทั้งไม้พุ่มและไม้เลื้อย ลำต้นและกิ่งจะมีหนาม ส่วนดอกของกุหลาบจะมีทั้งดอกเดี่ยวและเป็นช่อ กลีบดอกมีลักษณะใหญ่ มีไม่ต่ำกว่า 5 กลีบ กุหลาบนั้นมีกลิ่นหอมชวนดม และมีหลายสี เช่น แดง ขาว เหลือง ชมพู ฯลฯ อีกทั้งยังมีหลายชนิดด้วย
ซึ่งคำว่ากุหลาบนั้นมาจากคำว่า "คุล" ที่ในภาษาเปอร์เซียแปลว่า "สีแดง ดอกไม้ หรือดอกกุหลาบ" โดยในภาษาฮินดีก็มีคำว่า "คุล" แปลว่า "ดอกไม้" และคำว่า "คุลาพ" ก็หมายถึงกุหลาบอย่างที่ไทยเราเรียกกัน แต่ออกเสียงเป็น "กุหลาบ" ส่วนคำว่า "Rose" ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากคำว่า "Rhodon" ที่แปลว่ากุหลาบในภาษากรีก


ดอกไม้

ดอกลีลาวดี
 ีลาวดี 
ลีลาวดี เป็นไม้ยืนต้น มีขนาดจากที่เป็นพุ่มเตี้ยแคระสูง
ประมาณ0.6 เมตร จนถึงต้นใหญ่มากอาจที่สูงได้ถึง
12 เมตร ลำต้นแผ่กิ่งก้านสาขาและพุ่มใบสวยงาม
มีน้ำยางขนสีขาวเป็นพันธุ์ไม้ที่สลัดใบในฤดูแล้ง
ก่อนที่จะผลิดอกผลิใบรุ่นใหม่ชนิดและพันธุ์

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แนะนำตัวเอง

ชื่อ นายศุภักษร สองแป้น
ชื่อเล่น เจมส์
เกิดวัน พฤหัสบดี ที่ 21 กรกฎาคม 2537
สี่ที่ชอบ สีชมพู
กิจกรรมที่ชอบ เล่นกีฬา
นิสัย ร่าเริง